หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับ BLOG


ความรู้เกี่ยวกับ  BLOG







Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)







ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติและจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง

ลักษณะของ Weblog

-  มีการบันทึก
-  ข้อมูลจะถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ
-  มีการ link ไปหาบล็อกอื่นที่ผู้เขียนสนใจ
-  มีการแยกแยะเป็นกลุ่มเนื้อหา
-  มีการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม



ความสำคัญของเว็บบล็อก
Weblog มีความสำคัญต่อผู้ใช้ในด้านต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละหัวข้อดังนี้
-  ใช้สร้างความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล เหตุการณ์ เรื่องราว บทความ เพื่อให้ผู้อื่นได้เปิดอ่าน เพื่อแสดงเรื่องราว ความคิดเห็นในเรื่องที่ผู้เขียนสนใจ หรือชื่นชอบ
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารประสบการณ์กับผู้อ่านท่านอื่น และผู้อ่านก็สามารถแสดงความคิดเห็นในส่วนที่ต้องการได้อีกด้วย เป็นส่วนรวบรวมความรู้ในด้านต่างๆ โดยแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานสามารถใช้ค้นหาเรื่องราวที่สนใจได้ตามต้องการ

ทำไม Blog ถึงได้รับความนิยมอย่างมาก
ความสะดวกและง่ายดายของการเขียนบล็อก หรือสร้างบล็อกขึ้นมาสักหนึ่งแห่ง ทำให้ผู้คนนับล้าน ได้ทำการเขียนและเผยแพร่ความคิดของตนได้ง่าย และนอกเหนือจากนั้นยังมีความคิดเห็น อีกนับล้านจากคนอ่านที่เข้ามา Comment หรือตอบกลับในบล็อกเหล่านั้น ทำให้มีการโต้ตอบกันทางความคิด ( interactive) ซึ่งตอบโจทย์ เรื่องการสื่อสาร ระหว่างคนเขียนและคนอ่านได้เป็นอย่างดี

Blog คือ Web 2.0
- ไดอารีส่วนตัว
มี เนื้อหา สาระความรู้ ข่าว บันเทิง แกลเลอรีภาพถ่าย ฯลฯ
มีคอมเมนท์ , ปฏิสัมพันธ์   Blog

สังคมเครือข่าย Social Network
- เครือข่ายสังคมออนไลน์
หาเพื่อน หามิตรภาพ ( หาคู่ ^^) - แชร์ข้อมูล เสนอข่าวสาร
มัลติมีเดีย : วีดิโอ เพลง เกม

ดังนั้น Blog จึงเปรียบเสมือนเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่ง กลายเป็น แหล่งข้อมูลสำคัญ ที่เราไม่สามารถมองข้ามมันได้ ด้วยความฉับไวของข้อมูลใน Blog อีกทั้งยังเป็นข้อมูลที่ใหม่สด บางครั้ง ข้อมูลจาก Blog เป็นข้อมูลที่ไม่เคยปรากฎที่ไหนมาก่อนอีกด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ Blog ทำให้ผู้คนสามารถมีสิทธิ์มีเสียง และเขียนถึงเรื่องราวและบทความต่าง ๆ ได้ง่ายดังใจนึก

Wordpress บล็อคยอดนิยม
            WordPress คืออะไร
WordPress คือเป็นซอฟต์แวร์ blog ที่ได้รับความนิยมกันไปทั่วโลก ซึ่ง WordPress พัฒนาโดยใช้ภาษา PHP แล้วให้ใช้งานร่วมกับระบบฐานข้อมูล เช่น MySQL ซึ่งซอฟต์แวร์ WordPress ตัวนี้ เป็นซอฟต์แวร์ที่แจกให้ใช้กันได้ฟรี ทาให้มี ผู้นิยมแพร่หลาย ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน WordPress พัฒนามาเพื่อใช้ในการ อัพเดท blog โดยเฉพาะ ดังนั้นตัวโปรแกรมเอง พัฒนามาให้ใช้งานง่ายดาย โดยมีความง่ายตั้งแต่การติดตั้ง จนกระทั่งการเขียน blog หรือการเปลี่ยนรูปแบบดีไซน์ หรือธีมของ blog ก็สามารถทาได้สะดวกง่ายดายครับ

Wordpress เกิดมาจากไหน
WordPress ได้ปรากฏสู่โลกในปี 2003 โดยเป็นความพยายามร่วมกันอีกครั้งระหว่าง Matt Mullenweg and Mike Little ในปี 2004 ลิขสิทธิ์ข้อกำหนดเกิดการแข่งขันและได้ถูกเปลี่ยนแปลงโดย Six Apart ทำให้ผู้ใช้ส่วนมากของผู้ใช้งานหันมายัง WordPress เริ่มก่อเกิดแบรนด์ของ WordPress และก่อให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องใน WordPress ซึ่งนิยมได้พัฒนากันจนถึงปัจจุบัน และในปี 2007 ได้รับรางวัลชนะเลิศในเรื่องของระบบโปรแกรมเปิด Packt Open Source CMS Award

สิ่งที่ต้องมีในการเปิดใช้งาน wordpress
-  อินเทอร์เน็ต
-  บราวเซอร์
-  Email
-  3 สิ่งนี้มี Blog ไว้ใช้กันได้ ..
-  และที่ http://www.wordpress.com/



ประเภทของบล็อก
            การแบ่งประเภทของบล็อก สามารถแบ่งได้หลายวิธี ซึ่งหากแบ่งตามรูปแบบของเนื้อหา เฉพาะที่เห็นเด่นชัด ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
            1. Filter Blog เป็นบล็อกที่ผู้จัดทำ จะใช้สำหรับนำเสนอแหล่งข้อมูลที่ตนสนใจ (เว็บเพจหรือเว็บไซต์) โดยปกติมักจะเป็นข่าว บทความ หรือความคิดเห็นของบุคคลในวงการที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจเรียกได้ว่า เป็น บล็อก “Bookmark” หรือ มีชื่อเฉพาะ ว่า Social Bookmark
            บล็อกลักษณะนี้ จะนำเสนอแค่หัวข้อเรื่อง และ URL ของเว็บเพจหรือเว็บไซต์ บางทีอาจเพิ่มคำอธิบายเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ด้วย และบางที่อาจจะสามารถเพิ่มความคิดเห็นของผู้จัดทำบล็อกได้อีกด้วย เป็นเหมือนการกลั่นกรองข้อมูลให้ทราบว่าเว็บเพจหรือเว็บไซต์ใดกำลังได้รับความนิยม ซึ่งจะเป็นการช่วยจัดลำดับความน่าเชื่อถือของเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้น ๆ ได้เช่นกัน ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://del.icio.us/ เป็นต้น
            2. Personal Journal Blog เป็นบล็อกที่ผู้จัดทำ จะใช้สำหรับนำเสนอความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของตนเองผ่านข้อเขียน โดยอาจจะมีภาพประกอบ หรือมีการเชื่อมโยงออกไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือหรือมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งบล็อกลักษณะนี้ เป็นบล็อกตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไป ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.exteen.com หรือ http://www.blogger.com เป็นต้น
            3. Photo Blog เป็นบล็อกที่ใช้สำหรับเก็บภาพ (ภาพถ่าย, ภาพวาด ฯลฯ) และสามารถใส่รายละเอียดของภาพ ใส่คำค้น (tag) ได้ ทำให้การเก็บภาพเป็นระบบและง่ายต่อการค้นหามากขึ้น ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.flickr.com เป็นต้น
            4. Video Blog หรือ เรียกว่า Vlog เป็นบล็อกที่ใช้สำหรับเก็บวีดิทัศน์ส่วนตัว สามารถใส่รายละเอียดของวีดิทัศน์ ใส่คำค้น (tag) ได้ ทำให้การเก็บวีดิทัศน์เป็นระบบและง่ายต่อการค้นหามากขึ้น ตัวอย่างบล็อกลักษณะนี้ได้แก่ http://www.aolvideoblog.com เป็นต้น
            5. บล็อกผสม มีลักษณะเป็นบล็อกที่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้หลายประเภท ทั้งเก็บรูปภาพ เก็บเพลง เก็บวีดิโอ เก็บลิงค์ (link) ต่าง ๆ หรือบันทึกประจำวัน และใส่ปฏิทินรายการงานที่ต้องทำ ฯลฯ ได้ด้วย ปัจจุบันเป็นบริการที่ได้รับความนิยมสูงมาก โดยมีชื่อเฉพาะด้วย เรียกว่า Social Network Service ซึ่งนอกจากจะมีจุดประสงค์เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ กันแล้ว ก็ยังมีจุดประสงค์หลักเพื่อการค้นหาและสะสมเพื่อนจากทั่วโลก ตัวอย่าง Social Networking Websites ซึ่งให้บริการลักษณะนี้ ได้แก่ http://hi5.com หรือ http://multiply.com หรือ http://spaces.live.com เป็นต้น (ซึ่งปัจจุบัน คำว่า blog ใน Social Networking Websites นั้น จะกลายเป็นแค่ส่วนที่ใช้เขียนข้อความเช่นบันทึกประจำวันแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และยังอาจใช้คำว่า journal แทนคำว่า blog ด้วย แต่เนื่องจากบริการนี้ เป็นการรวมเอาบล็อกลักษณะต่าง ๆ ที่เคยมี มาอยู่ในที่เดียว ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะเพียงแค่เปิดใช้บริการที่เดียว ก็ได้ใช้บริการครบถ้วน ไม่ต้องเสียเวลาไปสมัครใช้งานจาก เว็บไซต์หลายที่ให้จดจำยากอีกด้วย)
            อาจเห็นว่าไม่ได้กล่าวว่ามี บล็อกดนตรี หรือ บล็อกที่ใช้เก็บไฟล์เสียง เนื่องจากผู้เขียนยังไม่เห็นว่ามีบริการที่ใดที่มีลักษณะเป็นบล็อกที่ชัดเจนนัก ซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่า การทำเพลงให้น่าสนใจ ทำได้ยากกว่าการทำวีดีทัศน์หรือการถ่ายรูป เพราะเพลงที่น่าสนใจจะต้องเป็นเพลงที่กำลังเป็นที่นิยม และส่วนใหญ่เพลงที่กำลังเป็นที่นิยม ก็มักจะเป็นเพลงที่มีลิขสิทธิ์ จึงไม่พบเห็นว่ามีการทำบล็อกเพื่อเก็บเพลงเป็นหลัก (ถ้ามี ก็จะเป็นลักษณะอื่น เช่น เป็นเว็บไซต์เก็บไฟล์เสียง ซึ่งก็ไม่ได้มีลักษณะเป็นบล็อกแต่อย่างใด)   
นอกจากนี้บล็อกที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ใช่มีเพียงแค่บล็อกที่เป็นตัวหนังสือและรูปภาพเท่านั้น หรือ มีแค่ออนไลน์ไดอารี่ เราแบ่งบล็อกออกย่อยๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อก ได้แก่
1.1. Linklog บล็อกแบบนี้น่าจะเป็นบล็อกรุ่นแรก ๆ เป็นบล็อกที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ ถ้าคณยังจำผู้ให้กำเนิดคำว่า บล็อกที่ชื่อ จอห์น บาจเจอร์ได้ นั่นแหล่ะครับ robotwisdom.com ของเขาคือตัวอย่างของ linklog นั่นเอง แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่ เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา 12 ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้นครับ ใครที่อยากมีบล็อกเป็นของตนเองแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำบล็อกแบบไหน linklog น่าจะเป็นการเริ่มต้นการทำบล็อกได้เป็นอย่างดี
1.2 Photoblog ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า Photo บล็อกประเภทนี้เน้นในโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ และมักจะไม่เน้นที่จะเขียนข้อความมากนัก บางบล็อกเรียกได้ว่าภาพโดยเจ้าของบล็อกล้วน ๆ เลยครับ
1.3. Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie
2. แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่
2.1 บล็อกส่วนตัว(Personal Blog) นำแสนอความคิดเห็น กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก
2.2 บล็อกข่าว(News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก
2.3 บล็อกกลุ่ม(Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น blognone.com
2.4 บล็อกการเมือง(Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน ๆ
2.5 บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม(Environment Blog) พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.6 มีเดียบล็อก(Media Blog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ เช่น oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น
2.7 บล็อกบันเทิง(Entertainment Blog) บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว และจอเงิน เรื่องซุบซุดารา กองถ่าย ฯลฯ
2.8 บล็อกเพื่อการศึกษา(Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน
2.9 ติวเตอร์บล็อก(Tutorial Blog) เป็นบล็อกที่นำเสนอวิธีการต่าง







วิธีทำบล็อก วิธีสร้างบล็อก การเขียนบล็อก blogger การทำ SEO

ขั้นที่ 1 ตั้งเป้าหมายและเลือก keyword ในการทำบล็อก
การเริ่มต้นครั้งแรกคุณควรจะวางเป้าหมายหรือจุดประสงค์ในการทำบล็อกให้ชัดเจน ว่าจะทำเป็นบล็อกส่วนตัว   บล็อกเพื่อการศึกษา  เพื่อความบันเทิง เฉพาะเรื่อง หรือเพื่อธุรกิจ

1.1 แนวทางการหา Keyword เพื่อทำบล็อก
สำหรับมือใหม่ ให้ใช้วิธีง่าย ๆ โดยให้คิดว่า ถ้าคุณจะค้นหาเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรื่องที่คุณจะเขียน
สำหรับผู้ที่เคยทำบล็อกมาบ้างแล้ว ให้ศึกษาการทำ keyword research ที่บทความ
แนวทางการทำ SEO Keyword research บน Blogger

1.2 ให้นำ Keyword นั้นมาตั้งเป็นชื่อของบล็อก
เช่น ผมเขียนบล็อกเรื่องราวเกี่ยวกับแฟชั่น อาจจะใช้ keyword หรือวลีที่นำมาตั้งชื่อบล็อกเป็น
sexyfasion
ซึ่งถ้าตั้งชื่อบล็อกก็จะได้เป็น
http://sexyfasion.blogspot.com
ซึ่งจะดีกับผลการค้นหามากกว่าใช้เครื่องหมาย dash คั่น เช่น
http://sexy-fasion.blogspot.com



ขั้นที่ 2 ลงทะเบียนใช้ Blogger โดยอ่านขั้นตอนได้จากบทความ
2.1 เริ่มต้นทำ blog ง่ายนิดเดียว

ขั้นที่ 3 เลือกแม่แบบ ซึ่งเลือกได้ 3 วิธีคือ
3.1 เลือกจากแม่แบบที่ blogger มีอยู่แล้ว
3.2 เลือกดาวน์โหลดที่แจกฟรี และเอามาแทนที่แม่แบบเดิม >> วิธีเปลี่ยน Templates ของ Blogger
3.3 ออกแบบด้วยตนเอง >> เครื่องมือสำหรับ ออกแบบแม่แบบด้วยตนเอง ใหม่! จาก blogger
3.4 31Blogger Templates สวยแบบเรียบหรู

ขั้นที่ 4 ลงมือเขียนบทความ ซึ่งควรอ่านจาก 2 บทความนี้
4.1 วิธีเขียนและจัดการบทความในบล็อก(แบบพื้นฐาน)
4.2 เขียนบทความลง blogger ผ่านโปรแกรม Windows Live Writer
4.3 วิธีทำให้บทความที่ต้องการอยู่หน้าแรกเสมอ

ขั้นที่ 5 เรียนรู้ตั้งค่าพื้นฐานต่าง ๆ ให้กับบล็อก ศึกษาได้จากบทความต่อไปนี้
5.1 การตั้งค่าพื้นฐานต่างๆ ให้กับบล็อก
5.2 รู้จักและใช้งาน Gadget ชนิดต่าง ๆ บน Blogger
5.3 การจัดการกับ Gadget ในหน้าบล็อก
5.4 วิธีการติดตั้ง Gadget บน blogger และการใช้งาน Gadget BlogArchive
5.5 การจัดหมวดหมู่ให้กับบทความด้วย Label Gadget
5.6 การแสดงข่าวสารล่าสุดด้วย Gadget ฟีด
5.7 วิธีใช้และตัวอย่างการใช้งาน Gadget หน้าเว็บ

ขั้นที่ 6 ความรู้และเครื่องมือพื้นฐานก่อนที่จะทำการปรับแต่งบล็อก
6.1 10 เครื่องมือพื้นฐานที่ชาว Blogger ควรมี
6.2 วิธี Backup template ใน Blogger
6.3 เปลี่ยน Templates แล้วจะใส่ Link ให้ Menu อย่างไร ?
6.4 รู้จักกับโครงร่างของโค้ด Template ใน Blogger
6.5 วิธีเปลี่ยน background ของ blogger
6.6 วิธีย้าย Blogger จากบัญชีผู้ใช้หนึ่งไปสู่บัญชีผู้ใช้อื่น
6.7 วิธีใช้งาน Firebug ช่วยปรับแต่ง Blogger Layout (ฝึกใช้งานภายหลังได้)


ขั้นที่ 7 ลงทะเบียน Feed กับ Feedburner
7.1 ทำความรู้จักกับ Feed ใน Blogger
7.2 FeedBurner ตัวช่วยให้ Feed แรง!!!

ขั้นที่ 8 ทำ SEO Onpage
8.1 ศัพท์ SEO ที่ Blogger ทุกคนควรรู้จัก 
8.2 รู้จักกับ meta tag และติดตั้งลงใน blogger
8.3 Trick การใส่ meta tag ให้กับบทความที่ต้องการ
8.4 วิธีการปรับแต่ง SEO Onpage บน Blogger ให้สมบูรณ์แบบ
8.5 วิธีทำให้ URL ของบทความใน Blogger เป็นมิตรกับ SEO

ขั้นที่ 9 ทำ SEO Offpage
9.1 Roadmap การทำ SEO สำหรับ Blogger
9.1 การโปรโมทบล็อกตอนที่ 1 : วิธี Submit sitemap สำหรับ Blogger
9.2 การโปรโมทบล็อกตอนที่ 2 : การ Submit Feed และ Ping
9.3 การโปรโมทบล็อกตอนที่ 3 : การเข้าร่วมชุมชนคนทำบล็อก
9.4 การโปรโมทบล็อกตอนที่ 4: การ Submit blog กับ Social Bookmark
9.5 วิธีสมัครเข้าร่วม Networkedblogs บน Facebook
9.6 Link Wheel Project for Blogger


ขั้นที่ 10 ติดตัวนับสถิติคนเยี่ยมชมบล็อก
10.1 ข่าว ดี!!! Blogger ติดตั้งเครื่องมือวิเคราะห์สถิติแล้ว
10.2 Gadget นับสถิติคนเข้าชมบล็อกด้วย Histats
10.3 นับจำนวนคน เยี่ยมชมด้วย Flagcounter


ขั้นที่ 11 บทความแนะนำ
นอกเหนือจากบทความที่ได้กล่าวไปแล้ว บทความต่อไปนี้เป็นบทความที่ได้รับความนิยม และเป็นบทความที่ผมขอแนะนำดังนี้
11.1  AutoMatic ReadMore for Blogger
11.2  วิธีแสดง Recent Post with thumbnail บน Blogger
11.3  วิธีแสดง Poppular Post บน Blogger
11.4  วิธีแสดง Random Post บน Blogger
11.5  วิธีแสดง Recent Comments บน Blogger
11.6  วิธีเปลี่ยนรูปแบบ Blog Archive ให้เป็นปฏิทินสวยๆ
11.7  2 วิธีปรับความกว้าง Template ของ Blogger
11.8  วิธีสร้าง Facebook Fan box (Like Box) บน blogger
11.9  วิธีนำ Facebook Social Plugins มาติดตั้งบน Blogger
11.10 วิธีส่ง Feed บทความจาก blogger ไปยัง Twitter และ Facebook โดยอัตโนมัติ
11.11 Page Navigation ใส่เลขกำกับหน้าบล็อก(V.2)
11.12 วิธีใส่ Social bookmark icon สวยๆ ใต้ทุกบทความ
11.13 Beautiful jQuery Slider on Blogger
11.14 ตารางสารบัญรูปแบบใหม่บน blogger สวยงามและซ่อน/แสดงได้
11.15 Seoquake Firefox Addon เครื่องมือสำคัญในการทำ SEO


ขั้นที่ 12 สารบัญ
บทความในบล็อกนี้ยังมีอีกมากคุณสามารถเลือกอ่านได้จาก>> สารบัญบทความ ของ www.hackublog.com





ประเภทของซอฟต์แวร์ 


ประเภทของซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ(System Softwaer) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Softwaer)
หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้

1.1  OS (Operating System) คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยประมวลผล ควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์และช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นการเปิด หรือปิดไฟล์ การสื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง การส่งข้อมูลออกสู่เครื่องพิมพ์หรือสู่จอภาพ เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่าง ๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่าวความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบบอยู่หลายตัวด้วยกันซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน ดังนี้

-DOS (Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.x ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส

-UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์

-LAN เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้เชื่อมโยงกันในระยะใกล้ ๆ เช่น ในอาคารเดียวกันหรือระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้กัน โดยใช้สาย Lan เป็นตัวเชื่อมโยง

-WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows XP แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 , MS ME และ MS Windows XP ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอเอสใหม่ ๆ

-Windows NT เป็นระบบ  OS ที่ผลิตจากบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน เป็นระบบ 32 บิต มีรูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไป แต่นิยมใช้ในระบบเวิร์กสเตชันมากกว่าในเครื่องพีซีทั่ว ไป

-OS/2 เป็นระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณ์เป็นกราฟฟิกที่ต้องใช้เมาส์ คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน
1.2 Translation Program คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น  ภาษา BASIC ,COBOL,C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY เป็นต้น สำหรับตัวแปลนั้นจะมี 3 แบบคือ

-Assembler เป็นโปแกรมที่ใช้แปลภาษาแอสแซมบลี ซึ่งมีลักษณะการแปลทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อย ๆ จนจบ

-Interpreter เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาเบสิก โดยจะแปลทีละคำสั่งแล้วทำตามคำสั่งนั้น แล้วแปลต่อไปเรื่อย ๆ จนจบโปรแกรม

-Compiler เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งจะแปลทั้งโปรแกรมให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงจะปฏิบัติตามคำสั่งทีละคำสั่ง
1.3  Utility Program คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2  ชุดเข้าด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูลเป็นต้น

14. Diagnostic Program คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปแกรม QAPLUS โปรแกรม NORTON เป็นต้น และเมื่อพบข้อผิดพลาดก็จะแจ้งขึ้นบนจอภาพให้ทราบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer)
หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
2.1 User Program  คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา BSDIC, COBOL, PSDCSL, C, ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า, โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคำนวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น
2.2 Package Program คือ โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันทีตัวอย่างเช่น
-Word Processor โปรแกรมที่ช่วยในการทำเอกสาร พิมพ์งานต่าง ๆ เช่น เวิร์ดจุฬา, เวิร์ดราชวิถี, Microsoft Word, WordPerfect, AmiPro เป็นต้น

-Spreadsheet โปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณข้อมูล มีลักษณะเป็นตาราง เช่น Lotus 1-2-3, Microsoft Excel เป็นต้น

-Database โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านฐานข้อมูลจะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ และมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น dBASE lll Plis, Foxbase,   Microsoft Access, foxpro, Visual Foxpro เป็นต้น

   โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านการสร้างรูปภาพและกราฟฟิกต่าง ๆ รวมทั้งงานทางด้านสิ่งพิมพ์ การทำโบรชัวร์ แผ่นพับ นามบัตร เช่น CorelDraw, Photoshop, Harvard Graphic, Freelance Graphic, PowerPoint, PageMaker เป็นต้น
จากข้างต้นเป็นตัวอย่างของ Package Program ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน ที่จริงแล้ว Package Program สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน สำหรับรายละเอียดของโปรแกรมแต่ละประเภทนั้น มีรายละเอียดดังนี้
1. โปรแกรมทางด้าน Word Processorโปรแกรมทางด้าน Word Processor นั้น เป็นโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านการประมวลผลคำ สามารถจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมาย หนังสือต่าง ๆ ได้ ทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ สวยงาม เนื่องจากสามารถจัดรูปแบบงานตามต้องการได้รวมทั้งยังแก้ไขงานที่ทำได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการแก้ไขงาน และสามารถค้นหาข้อความต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก
2. โปรแกรมทางด้าน Spreadsheetโปรแกรมทางด้าน Spreadsheet เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นกระดาษทำการขนาดใหญ่ หรือ เรียกว่า Worksheet ประกอบด้วยส่วนที่เป็น Row หรือแถวตามแนวนอนและส่วนที่เป็น Column หรือแถวตามแนวตั่ง ซึ่งใช้ในด้านการคำนวณเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปของกราฟโดยสร้างเป็นกราฟ 2 มิติและ 3 มิติได้อีกด้วย โปรแกรม Spreadsheet เหมาะกับการทำงานในด้านการบัญชี การเงิน การวิเคราะห์ข้อมูล หรืองานการคิดคะแนนและเกรดของนักศึกษา เป็นต้น
สำหรับโปแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โปรแกรม Lotus ซึ่งมีทั้งที่ทำงานบน Dos และบน Windows, โปรแกรม Microsoft Excel โปรแกรมเหล่านี้สามารถจัดรูปแบบตัวอักษรและกำหนดขนาดตัวอักษร รวมทั้งสามารถตีกรอบ สร้างตารางระบายสีลงในเซลล์ต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำรูปกราที่สร้างไว้มารวมกับข้อมูลที่อยู่ใน Worksheet เดียวกันได้ ทำให้ได้งานที่สมบูรณ์ขึ้น3. โปรแกรมทางด้าน Databaseโปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ทำงานทางด้านการจัดการฐานข้อมูล ช่วยจัดเก็บข้อมูล แก้ไข ค้นหา เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดเรียงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สะดวกรวดเร็วสามารถทำงานได้เป็นระบบ โปรแกรม Database เหมาะกับการทำงานที่มีข้อมูลมาก ๆ เช่น การเก็บสต็อกสินค้าคงคลัง การเก็บประวัติพนักงาน การเก็บรายชื่อนักศึกษาในโรงเรียน การเก็บรายชื่อหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น
โปแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม dBase lll Plus ซึ่งทำงานบน Dos โปรแกรม Foxpro ซึ่งมีหน้าที่ทำงานบน Dos และบน Windows, โปรแกรม Microsoft Access และในปัจจุบันมีโปรแกรม Visual Foxpro ซึ่งเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ทำงานบน Windows เช่นกัน4. โปรแกรมทางด้าน Graphicโปรแกรม Graphic ส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับทางด้านงานออกแบบ เขียนแบบวาดภาพ จัดทำสิ่งพิมพ์และจะเป็นทางด้านการนำเสนองาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานโฆษณา ทำ Slide Show หรือนำไปใช้กับระบบ Multimedia ได้ ปัจจุบันโปรแกรมกลุ่มนี้เป็นที่นิยมมาก
สำหรับโปรแกรมที่ทำงานทางด้าน Graphic นั้น มีอยู่หลายโปรแกรมและแต่ละโปรแกรมนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานคล้ายกัน แต่มีบางคำสั่งที่แตกต่างกันไปดังนี้
-CorelDraw และ Photoshop จะทำเกี่ยวกับงานออกแบบ วาดภาพ จัดทำ สิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพให้สวยงาม เหมาะกับงานทางด้านโฆษณา

-Harvard Graphic, Freelance Graphic และ PowerPoint เหมาะกับงานที่ต้องการนำเสนอ หรือแสดงออกโดยการสร้าง Slide Show สามารถนำภาพและเสียงมาประกอบกับงานได้ ทำให้ได้ Presentation ที่สวยงามออกมา

-PageMakerเหมาะกับงานประเภทสิ่งพิมพ์ ใช้สร้างโบรชัวร์ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร และการทำหนังสือ โปรแกรมที่นิยมใช้กับโรงพิมพ์มาก5. โปรแกรมเกม (Game)เป็นโปรแกรมที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ และปัจจุบันนี้มีโปรแกรมเกมต่าง ๆ มากมาย ทั้งแบบธรรมดาและแบบ 3 มิติ ซึ่งที่จริงแล้วโปรแกรมเกมส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมา เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในการทำงานแต่ละส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าเด็กจะเล่น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินมากกว่า ผู้ใหญ่ควรควบคุมเกมที่เด็ก ๆเล่นด้วย เพราะบางเกมเป็นลักษณะของการต่อสู้ เพื่อให้เกิดชัยชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กสร้างนิสัยผิด ๆ กลายเป็นเด็กที่ชอบเอาชนะคนอื่นชอบการต่อสู้ และอาจเป็นคนดุร้าย เห็นแก่ตัวได้ 6. โปรแกรมทางด้านการสร้างสถานการณ์จำลองเป็นโปรแกรมที่ให้ผู้เล่นได้ทดลองสร้างสถานการณ์จำลองของงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรืออาจจะเรียกว่า เกมส์ทางธุรกิจ โดยให้ผู้เล่นได้รู้จักวางแผนในการทำงาน คิดถึงผลกำไรขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ รู้จักจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่ให้ได้ผลกำไรมากที่สุด 7. โปรแกรมทางด้านการติดต่อสื่อสารเป็นโปรแกรมที่มักนิยมใช้ตามสำนักงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนในการนัดหมายประชุม การทำจดหมายเวียนไปตามฝ่าย ต่าง ๆ โดยการเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์แทนที่จะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ เพื่อแจ้งให้พนักงานทราบ ข้อดีของโปรแกรมชนิดนี้คือ ทำให้ประหยัดกระดาษลงไปได้มาก 8. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโปรแกรมประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CAI (Computer Assisted Instruction) เป็นโปรแกรมที่นำมาสอนให้กับนักเรียนในวิชาต่าง ๆ โดยที่นักเรียนจะเรียนกับโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์และครูเป็นผู้ชี้แนะ ทดสอบ และวัดความเข้าใจ รวมทั้งสรุปเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนจากโปรแกรม CAI นี้ ปัจจุบันโปรแกรมประเภทนี้เริ่มนำเข้ามาใช้ในโรงเรียนแพร่หลายมากขึ้น เพราะทุกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนของครูวิธีหนึ่ง ที่ทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อ และสนใจการเรียนมากขึ้นด้วย
สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะใช้สร้างโปรแกรม CAI นั้นได้แก่ โปรแกรม Authorware และโปรแกรม ToolBook เป็นต้น9. โปรแกรมทางด้านการออกแบบโปรแกรมนี้ได้เข้ามาช่วยออกแบบงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และงานออกแบบสินค้าต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งแบบที่เป็นภาพ 2  มิติ และภาพ 3 มิติ สำหรับโปรแกรมทางด้านออกแบบที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ โปรแกรม AutoCAD ใช้กับงานออกแบบ เขียนแบบ ทั้งแบบ 2มิติ เขียนวงจรไฟฟ้า เหมาะกับนักสถาปนิก นักออกแบบตกแต่ง วิศวกรไฟฟ้า นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมอื่นที่ใช้ร่วมกับ AutoCAD ได้อีกด้วย คือ โปรแกรม 3D Studio






 
แหล่งอ้างอิงที่มา :  http://www.hackublog.com/2010/06/roadmap-blogger-blogspot.html
           

ประเภทของบล็อก.เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ จาก http://images.medet40.multiply.com/attachment
/0/R7RxtAoKCD4AADti2RU1/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7-blog%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87.doc?nmid=80644134
ประเภทของบล็อก.เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์http://209.85.175.132/search?q=cache:
ZLymOWje04sJ:jingjai21.blogspot.com/2007/09/blog_7483.html+%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97weblog&hl=th&ct=clnk&cd=6&gl=th
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น